24 Apr สื่อสารอย่างไร ให้ SME มีที่ยืน #savebrand
- นี่คือช่วง เครียดเขา-เครียดเรา หากยังสื่อสารวีคๆแบบเก่า #เขาจะไม่ทน
- ในภาวะเสมือนหยุดนิ่ง SME ที่เดินหน้าทำ content อย่างต่อเนื่อง ส่งสารหาลูกค้าบ่อยๆ อย่างถูกต้องและแม่นยำ จะอยู่ในใจคนได้ง่ายกว่า
- ความรู้สึกของลูกค้าทุกราย อ่อนไหว ไวกว่าสมอง( reflect เสมือน เคาะเข่ากระตุก) การพูด หรือเงียบของแบรนด์ ล้วนส่งผลต่อ ความทรงจำระยะยาว
- พฤติกรรมใหม่ ทำ Brand Loyalty หาย !! จังหวะนี้ ใครสื่อสารโดนใจ มีโอกาสได้ลูกค้าไปครอง
#กลัวในกลัว นับจากนี้ จนถึงปีหน้า สภาพจิตใจคนส่วนใหญ่ จะตกอยู่ในความวิตกกังวล เพราะมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ ล้วนมีความยึดติด และเกลียดชังการสูญเสีย … ปีที่แล้ว เรายังกลัวว่า จะถูก DISRUPT ด้วย A.I ปีนี้ COVID-19 บังคับให้ทุกธุรกิจออกจากcomfort zone สูญเสียทั้งลูกค้า คู่ค้า แบบไม่ทันตั้งตัว
ในช่วงที่ ผู้คนจิตใจอ่อนไหว “การสื่อสาร” จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ลองสังเกต เทรนด์ทวิตเตอร์ ที่ดราม่าด่ากันข้ามวัน ล้วนมาจากการสื่อสารทั้งนั้น
แบรนด์ จึงควรให้ความสำคัญกับ พนักงานชื่อ “แอด” ในการคิดคำ วาง template ตอบคำถามที่พบบ่อย และแก้ปัญหาให้ลูกค้าอย่างฉลาด ไม่ห้วนโหด ไร้ใจ หรือตอบแบบขอไปที เบื้องต้นลองให้ “คุณแอด” ยึด 3 หลักการง่ายๆ
1. สื่อสารให้อยู่กับร่องกับรอย
2. สื่อสารให้ไว ให้บ่อย
3. ด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ
ภาวะนี้ การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ นอกจากจะช่วยให้ SME ประคองตัว ให้รอด
ยังอาจช่วยให้ SME รุ่งได้ ถ้าใช้คำเป็น และ นี่คือ 4 หลักการพูดที่จูงใจคนได้จริง
1. พูดให้ฉลาด สั้น ง่าย
Daniel Kahneman, นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลผู้เขียนหนังสือชื่อดังอย่าง “Thinking, Fast and Slow” กล่าวว่า “ถ้าอยากจะให้คนอื่นมองว่า คุณเป็นคนฉลาด น่าเชื่อถือ อย่าใช้ภาษายาก และซับซ้อน ควรใช้ภาษาที่คม สั้น และเข้าใจง่าย” คำกล่าวนี้ ดูจริงขึ้นมาทันที ในช่วงวิกฤตที่เต็มไปด้วย fake news และข่าวสารขยะ เมื่อมีคลิปแพทย์ ที่สื่อสารด้วยข้อความที่กระชับ เข้าใจง่ายก็มีโอกาสที่คนจะสนใจ จนเกิดไวรัลได้ในข้ามคืน
เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์คอย่าง Andrew Cuomo ได้ออกมาเเถลงการณ์คำสั่ง shut down เมืองที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกลง โดย Cuomo จำเป็นที่จะต้องทำให้ข่าวที่กระจายออกไปนั้น เข้าใจได้ง่ายเเละชัดเจนที่สุด เขาจึง Tweet ด้วยข้อความสั้นๆเพียง39 ตัวอักษร 7 พยางค์ ว่า
“Stay Home. Stop the Spread. Save Lives.”
ซึ่งถ้าหากว่า Cuomo พยายามที่จะเเถลงข้อความในเเบบที่หลายๆคนคิดว่าจะดูมีความprofessional เเล้ว ข้อความของเขาคงออกมาประมาณนี้
“For the preservation of public health and safety, I hereby order all residents not engaged in essential activities that impact critical infrastructure to remain in their residences in order to mitigate the propagation of the coronavirus and to minimize morbidity and morality.”
เเปลเป็นไทยได้ประมาณว่า
“เพื่อสุขภาพเเละความปลอดภัยของสาธารณชน ผมขอออกคำสั่งระงับกิจกรรมสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภครวมถึงผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองนี้ทั้งหมด โดยให้กักตัวอยู่เเต่ในที่พักอาศัยเพื่อบรรเทาการเเพร่ระบาดของโวรัสโคโรนา และเพื่อลดอัตราการติดเชื้อลง”
เมื่อนำ message ทั้ง 2 เเบบมาเทียบๆดูกันเเล้ว จะเห็นได้ว่า ข้อความเวอร์ชั่นที่ดู professional นั้นภาษาค่อนข้างที่จะซับซ้อน เต็มไปด้วยศัพท์ทางการที่ราชการชอบใช้ ซึ่งคำเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงถ้าหากต้องการจะเป็นผู้ที่สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อดูคำเเละข้อความใน Twitter เเล้ว จะเห็นได้ว่า มีเเต่การใช้ตัวอักษรที่เข้าใจได้ง่ายๆ เช่น “stay”, “home” เเละ “lives” ซึ่งเป็นคำภาษา Anglo-Saxon เเละเมื่อเปรียบเทียบกับคำภาษาละตินในความหมายเดียวกันเเต่ดูยืดยาวกว่าเเล้ว ภาษา Anglo-Saxon นั้นดูเข้าใจง่ายกว่า เเละเป็นรูปธรรมมากกว่า อยากรู้เรื่อง ภาษา Anglo-Saxon เชิญท่านไปหาอ่านเอง หากขยายความกว่านี้ เกรงจะผิดกฎข้อแรก
2. พูดด้วย อุปมา สื่อภาษาสมอง
เหตุที่ metaphor หรือ อุปมา เป็นทักษะที่ทรงพลัง เพราะเหล่านักประสาทวิทยา ค้นพบแล้วว่า เมื่อสมองมนุษย์ ต้องประมวลผล ในสิ่งใหม่ๆที่ไม่รู้จัก สมองจะเปรียบเทียบ กับสิ่งที่เราคุ้นเคยในชีวิต
เช่น เมื่อเราเห็นไอเดียใหม่ๆ สมองเราจะไม่ตั้งคำถามว่า “มันคืออะไร?” เเต่มันจะถามว่า “สิ่งนั้น มันเหมือนกับอะไร?” การอุปมา หรือเปรียบเทียบให้เห็นภาพ เป็นการสร้าง shortcut ให้สมอง ทำให้เรารู้สึกเข้าใจ โดนใจ และจูงใจให้เราเชื่อได้โดยไม่รู้ตัว
3. พูดเรื่องจริง
สมองชอบเรื่องเล่า Yuval Noah Harari นักประวัติศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ “Sapiens”
กล่าวว่า ความสามารถในการสร้างภาษาเพื่อสื่อสาร และสานสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยการเล่าเรื่องนั้น คือ สิ่งที่ทำให้มนุษย์ เเตกต่างจากสปีชีส์อื่นๆ ในภาวะวิกฤต การเล่าเรื่อง จะสร้างความร่วมมือ ร่วมใจได้ โดยไม่ต้องบังคับ
Dr. Deborah Birx, Response Coordinator ประจำทำเนียบขาว สหรัฐอเมริกา ได้เล่าเรื่องส่วนตัวของเธอ เพื่อให้คนเห็นความสำคัญของมาตรการ ‘Social Distancing’
เธอเล่าว่า คุณยายของเธอ มีชื่อว่า Leah… ในปี 1918 คุณยาย Leah ซึ่งขณะนั้นเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 11 ขวบ… ปีนั้น เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ระบาด คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 50 ล้านคน โดย ด.ญ. Leahติดหวัด เเละหวัดก็เเพร่ไปยังเเม่ของเธอ และทำให้เเม่ของเธอ เสียชีวิตในที่สุด ด.ญ. Leahไม่เคยลืมว่า เธอคือผู้นำเชื้อไข้หวัดใหญ่จากโรงเรียน มาแพร่สู่คนในบ้าน และเธอเองต้องทนทุกข์กับเรื่องนี้มาตลอด 88 ปี
Birx เล่าเรื่องส่วนตัวของเธอ เพื่อสนับสนุน Key message ที่ต้องการให้ชาวอเมริกันทุกคนมีส่วนร่วมในการปกป้องผู้อื่นในสังคมด้วยการอยู่บ้าน รักษาระยะห่าง ซึ่ง Message ของเธอทรงพลังมาก…มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 เมษายน ยอดผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด – 19 ค่อยๆลดลงจากที่เคยคาดการณ์เอาไว้
4. พูดด้วย กฎ 3 ข้อ
บรรดานักวิชาการ กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ผู้คนมักชอบสิ่งที่ต้องจดจำ 3 ข้อ การให้ข้อมูล 3 ข้อ จะทำให้พวกเขาจำได้ทั้งหมด เเต่หากเป็น 5 ทริค 6 เทคนิค 9 ท่า พวกเขาจะไม่สามารถทำตามได้เเม้เเต่ข้อเดียว เนื่องจากจำไม่ได้เลย และนี่ก็คือ ข้อ 4 ที่ผิดกฎ เมื่อท่านอ่านแล้ว จงลืมซะ ก่อนที่จะไม่ได้ใช้ 3 ข้อข้างบน
คำพูด ก็เหมือน ไวรัส เเพร่ระบาดได้ สร้างความหวาดกลัว ตื่นตระหนก
หรือสร้างความสงบ ความเข้าใจ จูงใจผู้คนได้ ดังนั้นโปรดใช้คำพูดอย่างระมัดระวัง
ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://www.entrepreneur.com/article/348060https://hbr.org/2020/04/finding-the-right-words-in-a-crisis
https://hbr.org/2020/04/finding-the-right-words-in-a-crisis